1. ความสำคัญของการบริหารเงิน
1.1 เงินมีจำกัด เงินในกระเป๋าของท่านล้วงออกมาก็จะพบว่าเงินค่อนข้างจำกัด หลายท่านอาจจะมีบัตร เครดิต แต่ก็ถูกจำกัดวงเงิน
1.2 ความต้องการใช้เงินมาก เรามีความต้องการใช้เงินตลอดเวลา ไม่เฉพาะกับธุรกิจ แม้กระทั่งส่วนตัวของท่านก็มีการใช้เงินตลอดเวลา
1.3 การลงทุนมีหลายประเภท และแต่ละประเภทมีระยะเวลาการให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน การลงทุนโดยการซื้อของมาขาย ให้ผลตอบแทนเร็ว ขณะที่การลงทุนปลูกสร้างอาคารให้ผลตอบแทนช้า
1.4 เงินมีต้นทุน เรามีเงินอยู่ในกระเป๋า 100 บาท ไม่ได้หมายความว่า 100 บาท ใช้ทำอะไรก็ได้ แต่ในแง่ของผู้ประกอบการ เราต้องใช้เงิน 100 บาทอย่างฉลาดที่สุดโดยคำนึงถึงต้นทุนของเงิน ซึ่งต้นทุนของเงินก็มีอยู่ 2 ประภท คือ
1.4.1 ต้นทุนการเสียโอกาสของการใช้เงินที่เรามีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งเหล่านี้สำคัญ เงินก้อนหนึ่ง ถ้าเราเลือกใช้ไปแล้ว อาจไม่ได้ผล ประโยชน์ตอบแทนเลย แต่ถ้าเราเลือกใช้ไปในอีกทางหนึ่งกลับให้ผลตอบแทนมากมาย การเลือกที่จะลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่มีการลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง ถือว่ามีการเสียโอกาสเกิดขึ้น ท่านผู้ประกอบการจะต้องชั่งน้ำหนักการใช้จ่ายเงินในแต่ละทางเลือกให้ ชัดเจน ในกรณีที่เป็นเงินของเราเอง
1.4.2 ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งต้องใช้จ่ายให้แก่สถาบันการเงินของเราเอง
1.5 ป้องกันปัญหาเงินขาดแคลน การขาดแคลนเงินเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
1.5.1 ยอดขายไม่เป็นไปตามที่เราวางเป้าหมายเอาไว้
1.5.2 ต้นทุนประกอบการ ต้นทุนสินค้า ควบคุมไม่ได้ ต้นทุนสูง ขายไปแล้วมีแต่ขาดทุน
1.5.3 ขายสินค้าไปแล้วเก็บเงินไม่ได้ แต่ถ้าเราขายเชื่อ ขายให้กับลูกหนี้ที่ยิ่งยาว ยิ่งมีความเสี่ยง เพราะโอกาสที่จะเก็บเงินมาได้นั้น แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายเงินของลูกหนี้ด้วย
1.5.4 การซื้อสินค้ามากจนทำให้เกินสต๊อกมากเกินไป ธุรกิจ โรงพิมพ์เห็นได้ชัดเวลาที่เราจะพิมพ์การ์ด จะสังเกตเห็นเราต้องซื้อการ์ดสำเร็จ ที่เป็นรูป กระดาษมาสต๊อกไว้เสมอ เพราะเราต้องการให้ลูกค้าเข้ามาเห็นการ์ดของจริง ไม่ได้มองว่าให้ลูกค้ามาดูแคตตาล็อก แล้วเราไปซื้อมาพิมพ์ให้ลูกค้า เพราะฉะนั้น เราก็จำเป็นต้องเดาสุ่มว่าสินค้าตัวไหน กระดาษตัวไหน สวยพอที่ลูกค้าจะสั่งพิมพ์ แล้วถ้าเกิดปัญหา บางอย่างซื้อมาเป็นปี ๆ หนึ่ง พิมพ์ไม่กี่ครั้งแค่นั้นเอง การมีสินค้าสต๊อกมากเกินไปเกิดจากอะไร เกิดจากเราไม่รู้ว่าจะขายอย่างไรให้กับลูกค้าบ้าง เราก็ต้องสต๊อก มีเงินเท่าไหร่ ก็ถมให้กับสต๊อกหมดเลย ยิ่งสต๊อกมากเท่าไหร่ เงินก็ยิ่งขาดมากเท่านั้น
1.5.5 การใช้เงินผิดประเภท ใช้เงินลงทุนไปในโครงการที่เราคิดว่าจะได้เงินกลับเข้ามาเร็ว แต่ในทางปฎิบัติหรือความเป็นจริงลงทุนไปแล้ว มันไม่กลับเข้ามา หรือได้เงินกลับมาช้า
|
2. แนวทางการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารเงินอย่างมีประสิทธภาพ ต้องรู้ 3 ข้อ
2.1 ต้องมีการวางแผน แล้วพยากรณ์การใช้เงินก่อน ในรอบปี หรือรอบไตรมาส อีก 3 เดือน เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายเงิน อย่างไรบ้าง แล้วเราจะมีการได้เงินมาอย่างไรบ้าง ก็คือจะขายได้เท่าไหร่ หรือจัดการในสต๊อกคงค้าง หรือลูกหนี้คงค้างอย่างไร เพราะฉะนั้นการพยากรณ์การใช้เงิน จำเป็นมาก ๆ เลย ที่จำเป็นต้องพยากรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ คือต้องพยากรณ์สมเหตุสมผลควบคู่ไปกับการทำงบประมาณ
2.2 ต้องมีการจัดหาเงิน เงินมีอยู่ 2 แหล่งเท่านั้นเองในโลกนี้ คือเงินกู้ จากสถาบันการเงินอะไรต่าง ๆ กับเงินของตัวเราเอง หรือเงินของเพื่อน ในแง่ของการร่วมลงทุน เมื่อเรามีการวางแผนแล้ว เราต้องมีการนำเสนอแผนงานการลงทุนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอย่างนั้นแล้ว คนที่จะมาเป็นแหล่งเงินของเรา เขาไม่มาหรอก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งหุ้นส่วนของเรา
2.3 ต้องมีการใช้เงินได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ผู้ประกอบการหลายท่าน วางแผนไว้แล้ว แต่เวลาการใช้เงินไม่เป็นไปตามแผนการ ใช้ตามใจเช่นวันดีคืนดีเห็นรถออกใหม่ อยากได้ท่านก็จะเอาเงินของกิจการไปซื้อ เหล่านี้ไม่ถูกต้อง การใช้เงินแบบผิดวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรมากมายประเมินค่าไม่ได้มานักต่อนักแล้ว เพราะฉะนั้นการใช้เงินให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตัวนี้สำคัญมากกว่าการ พยากรณ์ และการจัดหาเงินทุนเสียอีก
3. เทคนิคการบริหารเงิน
3.1 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้จ่ายเป็นแบบผันแปร
การบริหารกิจการของท่านควรพิจารณาการบริหารงานให้มีโครงสร้างต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายเป็นโครงสร้างผันแปรมากกว่าโครงสร้างคงที่ ค่าเช่าก็ดี ค่าจ้างพนักงานแบบคงที่ ก็คือพนักงานขายของท่านจ้างมาเดือนละ 1 หมื่น แต่เขาขายของไม่ได้สักชิ้นก็ต้องจ่าย 1 หมื่นอันนี้เรียกว่าคงที่ การหมุนมาเป็นค่าใช้จ่ายแบบผันแปร ก็คือท่านต้องจ่ายเขาแค่ 5 พันบาท เดิมจ่ายให้กิน 3 มื้อสบาย ๆ ได้เที่ยวด้วย เหลือแค่สักมื้ออีกสองมื้อต้องทำงานแลกกัน เพราะฉะนั้นยิ่งขายมากก็ได้มาก ยิ่งขายน้อยก็ได้น้อย เพราะฉะนั้นเขาก็เปลี่ยนจากลูกจ้างมาเป็นหุ้นส่วนของท่านโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้หุ้น ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรแต่อย่างใดเลย การบริหารให้มีต้นทุนแบบผันแปรก็เหมือนกับ ได้พนักงานเป็นหุ้นส่วนแล้ว ข้อสำคัญก็คือวางแผนตอบแทนเขา วางอย่างยุติธรรม ข้อประการสำคัญของผู้ประกอบกิจการหรือเถ้าแก่บางคน พอผันแปรไปแล้ว ธุรกิจมันเด้ง มากไปหน่อย ชักเสียดาย ชักติดเบรกแล้ว อย่าไปทำลาย โครงสร้างแบบนี้สำคัญ เขาคือพาร์ทเนอร์ของท่านโดยที่ไม่ต้องเสียหุ้นเลยแม้แต่หุ้นเดียว ให้ท่านบริหารแบบโครงสร้าง ผันแปร มากกว่าโครงสร้างคงที่
3.2 ควบคุมงบประมาณ
มีการวางแผนและควบคุมประเมิน วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้แผนการเงินไม่บรรลุและสร้างความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงาน
3.3 ลดการสูญเสียและความเสียหายของสินค้าโดยการควบคุมประสิทธิภาพการผลิด
3.4 อย่าลงทุนผิดประเภท เพราะว่าการลงทุนผิดประเภทไม่การันตีถึงความสำเร็จเลย ถ้าเป็นไปได้ลดการลงทุนสินทรัพย์ลง เช่น รถปิคอัพ 1 คัน ใช้ไม่เคยเต็มที่เลย ขายทิ้งไปแล้วใช้รถร่วมกับชาวบ้าน จ่ายแพงนิดหนึ่งแต่ให้อยู่ในรูปของต้นทุนผันแปรดีกว่า | | | | | | | |
| ที่มา : http://www.nanosoft.co.th/maktip33.htm | |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น