พื้นที่โฆษณา
<a href='http://adx.arip.co.th/pads/www/delivery/ck.php?n=a5189e03&amp;cb=2037888796' target='_blank'><img src='http://adx.arip.co.th/pads/www/delivery/avw.php?zoneid=2&amp;cb=833294580&amp;n=a5189e03' border='0' alt='' /></a>
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613
สำหรับเครือข่าย IEEE 802.11b นับเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps บนย่านความถี่ 2.4GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย และเป็นสัญญาณที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทบลูทูธและโทรศัพท์ไร้สาย จุดเด่นคือมีระยะการทำงานที่กว้างกว่า 802.11a ส่วนมาตรฐาน 802.11g ก็ถือว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน แต่ที่น่าสนใจก็คือ มาตรฐาน n หรือ Draft-N กำลังจะเข้ามาทดแทน 802.11b/g ด้วยอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า และระยะทำการไกลขึ้น จึงคาดว่าจะเป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายไร้สาย ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าการใช้งานในปัจจุบัน ไปอย่างสิ้นเชิง
-รูปแบบการใช้งานและความสะดวก
การจะเลือกอุปกรณ์ไร้สายมาใช้นั้น สิ่งที่ควรพิจารณาคือ รูปแบบการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นหลัก เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละแบบก็มีคุณลักษณะและความคล่องตัวในการใช้งานแตกต่าง กันออกไป ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เรียกว่า Wireless Adaptor มีให้เลือกทั้งที่เป็นแบบ USB, PCI และ Express Card หรือ PCMCIA แต่แบบใดละที่เหมาะกับคุณ มาดูกันที่แบบ USB อุปกรณ์ในรูปแบบดังกล่าว ต้องยอมรับว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องด้วยไม่ต้องเสียบไว้ในเครื่องตลอดเวลา คุณจึงพกพาไปใช้งานกับเครื่องอื่นๆ ได้ในทุกที่ แต่ก็แลกมาด้วยค่าตัวที่ค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน อีกทั้งบางครั้งก็เสี่ยงกับการหายโดยไม่รู้ตัวหรือแม้กระทั่งการชนหรือ เกี่ยวหลุดโดยไม่ตั้งใจ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ยื่นออกมาจากตัวเคสนั่นเอง และในอดีตก็มีปัญหาการติดตั้งไว้ด้านหลังทำให้เกิดจุดอับของสัญญาณอยู่บ้าง แต่ได้ถูกแก้ไขโดยมีผู้ผลิตที่ทำเสาสัญญาณ Antenna ติดตั้งเพิ่มเติมมาให้
แต่ถ้าเป็นแบบ PCI Slot แล้ว การติดตั้งไว้ภายในเครื่องก็อุ่นใจไปได้ระดับหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าการเคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นคงไม่สะดวกเป็นแน่ ดังนั้นแล้วจึงเหมาะกับสำนักงานหรือที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายกันบ่อยนัก นอกจากนี้ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCI แล้ว ผู้ผลิตจะออกแบบเสาสัญญาณให้แยกออกจากการ์ดได้ ดังนั้นแล้วผู้ใช้จึงสามารถหาซื้อเสาสัญญาณต่างหาก ในการติดตั้งในบริเวณที่รับสัญญาณได้ดียิ่งขึ้น นับว่าเป็นจุดเด่นของอุปกรณ์ในแบบ PCI Card ส่วนที่เป็น PCMCIA หรือ Adaptor Card ก็แน่นอนว่าใช้ร่วมกับโน้ตบุ๊กเท่านั้น
-รองรับเทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพสัญญาณ
ตั้งแต่ระบบเครือข่ายไร้สายมีอัตราการเติบโตมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตก็ไม่ได้หยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ผลิตค่ายดังรายต่างๆ ได้หันมาใส่ใจรูปแบบการเพิ่มคุณภาพสัญญาณที่เหนือกว่ามาตรฐาน IEEE802.11g โดยใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป แต่จะเป็นที่เข้าใจกันในชื่อ SuperG ซึ่งให้อัตราการรับ-ส่งข้อมูลได้มากถึง 108Mbps หรือสูงกว่า G ธรรมดาถึงเท่าตัวในทางทฤษฏี แต่ส่วนใหญ่เราจะพบข้อจำกัดก็คือ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายเป็นยี่ห้อและเทคโนโลยีเดียว กัน จึงกลายเป็นเทคนิคเล็กๆ ที่ผู้ซื้อควรให้ความสนใจด้วยเช่นกัน ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้มีความสอดคล้อง เพื่อจะได้คุณภาพและระยะของสัญญาณที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า MIMO คล้ายคลึงกับ Super G แต่มีรูปแบบของอุปกรณ์ที่ต่างกันไปเล็กน้อย แต่ก็ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีเช่นกัน
-เปลี่ยนเสารับสัญญาณดีไหม
ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าในตลาดจะมีเสาสัญญาณแบบแยกต่างหากสำหรับการ์ด Wireless จำหน่ายอยู่มากมาย ซึ่งระบุความแรงเป็นแบบ dBi มีให้เลือกตั้งแต่ 3dBi ขึ้นไป หลายคนจึงอาจสงสัยว่าจะช่วยให้การรับ-ส่งสัญญาณดีขึ้นหรือเปล่า คำตอบคือ ดีขึ้น แต่จะดีขึ้นสำหรับผู้ที่ติดตั้ง Wireless Card หรือ USB Adaptor ที่ติดตั้งไว้ในมุมอับของห้อง เช่นในกรณีที่คอมพ์ฯ ที่ใช้อยู่ไกลจาก Access Point หรืออยู่ติดกำแพงในมุมห้อง จนทำให้เกิดการอับสัญญาณ จนทำให้การรับ-ส่งสัญญาณนั้นลดลง รวมไปถึงบรรดาผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในหอพัก อพาร์ทเมนท์ที่มีระยะห่างจากจุดจ่ายสัญญาณ การใช้เสาแบบดังกล่าวนี้ นอกจากจะช่วยยืดระยะทางจากมุมอับที่เกิดขึ้น ด้วยการต่อสายสัญญาณออกมาแล้ว ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณได้ดีขึ้นอีกด้วย ในสภาวะแวดล้อมและระยะทางที่เท่ากัน ดังนั้นการเลือกใช้ให้ดูความเหมาะสมตามสภาวะการใช้งาน
<a href="http://www.arip.co.th/news.php?id=407778" target="_blank"><img src="http://www.arip.co.th/2009/images/logo_arip_s.png" align="middle" border=0></a> <a href="http://www.arip.co.th/news.php?id=407778" target="_blank">ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์</a>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น