วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

รีวิว : Mi-Fi – 3G Mobile Wi-Fi Router (Huawei E5830)


Mon, Feb 15, 2010 12:56 pm
รีวิว : Mi-Fi – 3G Mobile Wi-Fi Router (Huawei E5830) เชื่อว่าของสิ่งนี้น่าจะถูกใจใครหลายคนที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คนอกสถานที่บ่อย ๆ, อยากใช้ iPod touch ต่ออินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ได้ทุกที่ทุกเวลาเหมือนๆ กับ iPhone , รวมถึงใครที่กำลังวางแผนจะซื้อ iPad ด้วย ต้องไม่พลาดกับ 3G Mobile Wi-Fi Router

เทียบขนาดกับ iPhone
ด้านหลังเครื่อง
เกริ่นกันสักนิดสำหรับหลายคนที่ยังไม่คุ้นกับ 3G Mobile Wi-Fi Router ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือ Wi-Fi Router ขนาดย่อม (บ้างก็เรียกว่าเป็น Mi-Fi Router) โดยสัญญาณ Wi-Fi ก็นำมาจากสัญญาณ 3G ของระบบโทรศัพท์มือถือนั้นเอง โดยที่เจ้า 3G Mobile Wi-Fi Router ตัวนี้หน้าตาเห็นแว๊บแรกนึกถึงโทรศัพท์รุ่นยอดฮิตในสมัยก่อนโมโตโรล่า v-series ตัวเครื่องเทียบกันเห็นภาพก็เล็กกว่า iPhone พอควร น้ำหนักค่อนข้างเบา (ตามสเป็กหนัก 90 กรัม) ตัวเครื่องทำจากพลาสติกทั้งหมดโดยที่ด้านหน้าจะเป็นสีเงินขัดด้านมีหน้า จอแสดงผลขนาดประมาณ 1.8 นิ้วแสดงสถานะด้วยไฟ LED 5 ดวง ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ต่างกันไปตามแต่ละหน้าที่ ด้านข้่างตัวเครื่องมีปุ่มกดฟังก์ชั่นต่าง ๆ รวมถึงมีช่องใส่ Micro SD อยู่ทางด้านซ้าย ด้านหลังเป็นพลาสติกสีขาวเมื่อเปิดมาก็เจอแบตเตอรี่ก้อนบาง ๆ เห็นแบบนี้ตัวแบตเตอรี่มีความจะมากถึง 1,500 มิลลิแอมป์ เมื่อยกแบตเตอรี่ขึ้นมาก็จะเห็นมีช่องใส่ซิมการ์ด โดยรายละเอียดทางเทคนิคของ Huawei E5830 มีดังนี้
  • GSM/GPRS/EDGE: 850/900/1800/1900MHz
  • HSUPA/HSDPA/WCDMA: 2100MHz
  • HSDPA: 7.2Mbps(DL)
  • HSUPA: 5.76Mbps(UL)
  • BATTERY: 1500mAh (ใช้งานต่อเนื่อง 4-5 ชั่วโมง)
  • WIFI: 802.11b/g (รองรับอุปกรณ์ 5 เครื่องพร้อมกัน)
  • SIZE: 95x48x13 ม.ม.
  • WEIGHT: 90 กรัม
  • OS: Windows XP, Vista, Windows 7, Mac, Linux
จากสเป็คจะเห็นว่าตัวเครื่องรองรับการใช้งานการเชื่อมต่อด้วย EDGE ได้กับค่ายหลัก ๆ ในบ้านเราได้หมดทุกค่ายไม่ว่าจะเป็น AIS, DTAC และ TrueMove เพราะรองรับความที่ทั้ง 850/900/1800/1900 ส่วนการเชื่อมต่อ 3G รองรับบนคลื่น 2100 MHz เพียงอย่างเดียว ซึ่งในบ้านเราตอนนี้ค่ายที่เปิดใช้งานบนคลื่นความถี่นี้มีเจ้าเดียวคือทีโอ ที ซึ่งเราคงหนีไม่พ้นที่เราจะต้องใช้งานซิมการ์ดของทีโอทีในการทดสอบ
ตั้งค่าให้ใช้เฉพาะบน WCDMA (3G) อย่างเดียวไม่ต้องโรมมิ่งก็ได้
ด้านการใช้งาน Huawei E5830 สามารถทำงานได้ทั้งแบบไร้สาย (Wi-Fi) และแบบมีสายโดยการต่อผ่านสาย USB เพื่อใช้งานเป็นโมเด็ม และแม้ขณะใช้งานเป็นโมเด็มผ่านทาง USB ก็ยังสามารถใช้งาน Wi-Fi จากตัวเครื่องได้ตามปกติ ซึ่งในการเริ่มต้นใช้งานเมื่อนำเจ้า Huawei E5830 ออกมาจากกล่องและเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เราก็จะพบกับตัวโปรแกรม Mobile Partner (สำหรับ Windows) ที่ต้องลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เสียก่อน ส่วน Mobile Partner (สำหรับ Mac) เท่าที่ดูไม่พบว่ามีการเตรียมมาให้ แต่เราก็สามารถหาดาวน์โหลดได้เองจากเว็บไซท์ huawei ซึ่งเมื่อติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ของตัว Huawei E5830 ได้ทั้งหมดตั้งแต่เลือกให้ตัวเครื่องทำงานเฉพาะบนคลื่น 3G ไม่ให้ทำงานเมื่อพบว่าคลื่นเปลี่ยนจาก 3G เป็น EDGE, เปลี่ยนพาสเวิร์ด, ตั้งค่าเกี่ยวกับความปลอดภัยต่าง ๆ ของตัวเครื่อง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนที่ใช้ Router อยู่ที่บ้านแล้วตั้งค่าผ่าน http://192.168.x.x ต้องบอกว่าตัว Huawei E5830 ถูกล็อกเอาไว้ ให้ตั้งค่าต่าง ๆ ผ่านเฉพาะทางซอฟท์แวร์ที่มาคู่กันเพียงอย่างเดียว ส่วนสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนหน้าจอเมื่อเปิดใช้งานถูกแบ่งเป็น 5 สัญลักษณ์ด้วยกันคือ
ไฟสถานะการใช้งานทั้งหมดมี 5 ดวง
  • สัญลักษณ์ความแรงของสัญญาณโทรศัพท์ (มุมซ้ายบน) ซึ่งแสดงเป็นรูปเสาอากาศแบบที่เห็นแล้วรู้ปั๊บได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร โดยระดับความแรงของสัญญาณถูกแบ่งด้วยสีแดง(ไม่มีสัญญาณ 3G), เหลือง  (มีสัญญาณ 3G แต่่อ่อน) และเขียว (มีสัญญาณ 3G เต็มเปี่ยม)
  • สัญลักษณ์แบตเตอรี่ (มุมขวาบน) ซึ่งการแสดงสถานะแบตเตอรี่จะถูกแบ่งด้วยสีเช่นกันคือสีแดง(แบตเตอรี่่อ่อน มาก), สีเหลือง (แบตเตอรี่มีอยู่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์) และสีเขียว (แบตเตอรี่มีราว ๆ 80-100 เปอร์เซ็นต์)
  • สัญลักษณ์ตัว M (Mode) โดยเมื่อเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน 3G ได้ตัว M จะแสดงเป็นสีน้ำเงิน
  • สัญลักษณ์ตัว W (Wi-Fi) เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้ทราบว่าตัวเครื่องมีการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi หรือไม่โดยถ้ามีตัว W สีฟ้าขึ้นมาก็แสดงว่าตอนนี้มีการปล่อย Wi-Fi อยู่ ถ้าไม่มีการปล่อย Wi-Fi จะไม่มีตัวหนังสือขึ้นมา
  • สัญลักษณ์ตัว R (Roaming) หมายถึงว่ามีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นที่มีการเปิดโรมมิ่งกับเครือข่าย โทรศัพท์ของเรา ซึ่งจะแสงดสถานะเป็นตัว R สีแดง (กรณีนี้ในบ้านเราก็เมื่อเราใส่ซิมการ์ดทีโอทีและใช้งานถ้าหน้าจอขึ้นตัว R สีแดงแสดงว่ามีการโรมมิ่งกับเครือข่าย AIS)
ในการใช้งานจริงส่ิงแรก ๆ ที่อยากรู้สำหรับอุปกรณ์ลักษณะนี้คือแบตเตอรี่อึดแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้เราก็ไม่พลาดที่จะทำการทดสอบโดยการเปิดตัวเครื่องให้มีการ เชื่อมต่อ 3G และเปิดการใช้งาน Wi-Fi ทิ้งไว้ด้วย เท่าที่ทดสอบโดยการชาร์ตแบตเตอรี่เต็ม ๆ สามารถสแตนบายด์ได้ราว ๆ 24 ชั่วโมง (แบตเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผ่านไป 20 ชั่วโมง) ด้านระยะเวลาการใช้งานตามสเป็คบอกว่าใช้ต่อเนื่องได้นาน 5 ชั่วโมง ในการทดสอบไม่ได้มีการใช้งานแบบต่อเนื่องตลอดเวลาก็เลยทำให้ไม่ทราบในจุดนี้ ว่าใช้งานจริงสามารถทำได้ถึงตามที่ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยเช่นมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Wi-Fi พร้อมๆ กันกี่เครื่อง (รองรับอุปกรณ์เชื่อมต่อผ่านทาง Wi-Fi ได้พร้อมกับ 5 เครื่อง) แน่นอนว่าถ้ามีการใช้งานพร้อมกันหลายเครื่องระยะเวลาในการใช้งานจริงก็ย่อม ที่จะลดลงไปด้วย ส่วนในการทดสอบก็ใช้แบบทั่ว ๆ ไปคือเปิดตัวเครื่องต่อ 3G และเปิด Wi-Fi ทิ้งไว้โดยมีการใช้งานผ่านทาง iPhone ระหว่างวันบ้างเป็นครั้งคราวตลอดทั้งวันเท่าที่สังเกตุแบตเตอรี่รองรับได้ ตลอดทั้งวัน ส่วนสัญญาณ 3G ก็มีเปลี่ยนสีไปมาบ้างขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่ามีสัญญาณ 3G ของทีโอทีหรือไม่ ซึ่งเท่าที่ทดสอบตัว Huawei E5830 จับสัญญาณ 3G ได้เร็วพอควรเรียกว่าเปิดเครื่องมารอไม่เกิน 10 วินาทีก็พร้อมใช้งานได้ทันที
ไฟขึ้นแบบนี้แสดงว่าพร้อมใช้งานทุกอย่าง
ด้านความเร็วในการเชื่อมต่อของ Huawei E5830 รองรับความเร็ว 3G ได้สูงสุดถึง 7.2 Mbps (ดาวน์โหลด) ซึ่งถือเป็นข้อจุดเด่นเหนือกว่ายี่ห้ออื่นที่พอจะหาได้ในบ้านเราในตอนนี้ที่ ทำออกมารองรับความเร็วแค่ 3.6 Mbps (ดาวน์โหลด) เท่านั้น โดยในการทดสอบก็ไม่มีปัญหาอะไรในด้านความเร็วเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งความเร็วในการเชื่อมต่อก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่ามีสัญญาณแรงแค่ไหน เท่าที่เชื่อมต่อ Huawei E5830 เข้ากับ MacBook ผ่านทาง USB ซึ่งจะมีการเรียกใช้โปรแกรมที่ทำให้เราได้เห็นว่าสัญญาณมีการสลับไปมาระ หว่าง WCDMA (7.2 Mbps) และ HSPA (3.6 Mbps) ในบางพื้นที่ ส่วนถ้าเข้าไปในโซนที่มีสัญญาณแรง ๆ ก็จะขึ้นเป็น WCDMA ตลอดเวลา
คุยข้อดีกันไปหมดแล้ว ส่วนข้อเสียของ Huawei E5830 เอาเข้าจริงในเรื่องการใช้งานทั่ว ๆ ไปก็ไม่มีอะไรจะต้องติ ถ้าจะมีก็คงเป็นตัวซอฟท์แวร์ Mobile Parther เวอร์ชั่น Mac ทำมาไม่ค่อยหยืดหยุ่นในการตั้งค่าในหลาย ๆ เรื่อง เพราะบางเมนูที่ควรมีก็ดันไม่มี เช่นตั้งค่าพาสเวิร์ด, เปลี่ยนชื่อ SSID เป็นต้น สรุปว่าถ้าต้องการตั้งค่าได้ทุกอย่างต้องใช้ซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นบน Windows ดีที่สุด อีกส่วนก็คงเป็นขณะใช้งานเป็นโมเด็มผ่านทาง USB จะไม่มีการชาร์ตไฟเข้าตัวเครื่อง แต่ถ้าปิดเครื่องแล้วเสียบ USB ทิ้งไว้จะชาร์ตไฟได้
สุดท้าย ๆ สุดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ iPhone, เจ้าของ iPod touch หรือใครก็ตามที่ต้องพกพาโน๊ตบุ๊คไปไหนต่อไหนด้วยบ่อย ๆ รวมถึงใครที่กำลังมองหาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาให้กับสารพัด อุปกรณ์ขณะอยู่นอกบ้านเชื่อว่า 3G Mobile Wi-Fi Router (Huawei E5830) ตอบโจทย์ได้ดีครับ ส่วนใครกำลังตัดสินใจเสียเงินให้ iPad แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะเอารุ่น Wi-Fi อย่างเดียวหรือรุ่น 3G/Wi-Fi ลองชั่งใจว่าถ้าเป็น iPad (Wi-Fi) + 3G Mobile Wi-Fi Router (Huawei E5830) ก็ไม่เลวทีเดียว แถมเราสามารถแบ่งให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เราพกไปด้วยสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้ด้วยเช่นกัน
จุดสังเกต
  • การเชื่อมต่อ 3G รองรับเฉพาะคลื่น 2100 MHz เท่านั้น
  • ซอฟท์แวร์ที่ให้มาไม่ค่อยหยืดหยุ่นเท่าไหร่ โดยเฉพาะเวอร์ชั่น Mac
  • ขณะใช้งานเป็นโมเด็มผ่าน USB ไม่สามารถชาร์ตไฟเข้าตัวเครื่องได้
ราคา : 4,900 บาท
เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ทดสอบ : บริษัท อินสไปร์ สมาร์ทโซลูชั่นส์ จำกัด (www.surfnshop.biz)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น