วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณภาพของน้ำกับกล้วยไม้




     คุณภาพของน้ำที่เหมาะกับกล้วยไม้มากที่สุดคือน้ำที่ไม่มีความเป็นกรดสูง มีค่า pH ราว ๆ 6.5 หากผมอธิบาย แบบนี้ หลายท่านคงมีปัญหา เพราะคงไม่มีใครซื้อกระดาษลิตมัสเพื่อมาวัดความเป็นกรดเป็นด่างน้ำที่เรารดกล้วย ไม้อยู่ทุกวันเป็นแน่ เอาละตามผมมาทีละนิดทีละน้อย ผมจะพาท่านไปรู้จักกับน้ำที่มีคุณภาพเหมาะกับกล้วยไม้ที่สุด กันครับ
     ในบรรดาน้ำห้วยหนองคลองบึง ประปา น้ำบ่อน้ำบาดาล ไม่มีน้ำได ๆ ในโลกนี้วิเศษสุดเท่ากับน้ำฝนอีกแล้วครับ เนื่องจาก ฝน คือสิ่งที่ธรรมชาติได้คัดสรรค์แล้วว่า สะอาดที่สุด มีแร่ธาตุมากสุด มันจึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกเผ่าพันธุ์ ก่อนที่ฝนจะหยดลงสู่พื้นดิน มันได้ผ่านลมผ่านฟ้ามา ทุก ๆ ครั้งที่เมฆเคลื่อนตัวมันได้หอบธัญญาหารมากมายกับเก็บไว้ในละอองน้ำที่เรียก ว่า เมฆ เมื่อเมฆรวมกลุ่มก้อน เหล่าธัญญาหารอันมีค่าก็จะร่วงหล่นลงมาพร้อม ๆ กับฝนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ฝนตก เรามักจะพบว่ามีต้นไม้มากมายงอกเงยออกจากเมล็ดพากันชูช่ออวดทรงในฤดูนี้นั่น เอง แต่บ้านเรา มีฤดูฝนเพียงไม่กี่ช่วง เผลอ ๆ เจอร้อนกับร้อนและร้อนร้อน ฝนทิ้งช่วง บางทีเราแทบไม่มีพื้นที่ที่จะตวงน้ำฝนเก็บไว้เสียด้วยซ้ำ แล้วทำอย่างไรดีละ น้ำประปา คือคำตอบต่อมา น้ำประปาที่ผลิตจากโรงกรองซึ่งรับน้ำดิบจากแม่น้ำ จะได้น้ำที่สะอาดและไม่เป็นภัยกับกล้วยไม้ นอกจากนี้ น้ำที่ใช้โดยตรงจากแม่น้ำที่ไม่มีน้ำเสียเจือปนมากนัก เมื่อกำจัดตะกอนออกไป ( โดยผ่านเครื่องกรอง หรือใช้ สารส้ม) ก็จัดว่าเป็นน้ำที่ได้คุณภาพดีพอที่จะ ใช้เลี้ยงกล้วยไม้ชนิดต่างๆ ได้ งอกงามดี )



จากภาพด้านบน เป็นภาพสามปอยของคุณชิเนนทร ถ่ายไว้สมัยฟิล์มสีแบบดี ๆ ยังไม่เกิดเลยครับ ต้นด้านบน จากภาพซ้าย และภาพขวา เป็นสามปอยต้นเดียวกัน ภาพซ้าย เป็นรูปที่สามปอยต้นนี้ยังอยู่ที่บ้านเพื่อนของคุณชิเนนทร ซึ่งใช้น้ำบาดาลรดทุกวัน สังเกตุต้นนะครับ ลำต้นแคระแกรน ให้ดอกน้อย ดูโทรม ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากน้ำเป็นหินปูนนั่นเองครับ หลังจากนั้นมา เพื่อนคุณชิเนนทรก็ได้มอบต้นนี้ให้กับคุณชิเนนทร โดยคุณชิเนนทรได้ใช้น้ำประปารด น้ำประปาที่สวนของคุณชิเนนทร จะถูกกักไว้ในแท้งน้ำก่อนแล้วจึงนำมารดกล้วยไม้ครับ ทั้งนี้เพื่อกักน้ำให้คอลีนเจือจางลง ผลที่ได้ สามปอยภาพขวา โตขึ้น มีดอกมากขึ้น ช่อยาวขึ้น สมบูรณ์และสวยขึ้นจนกลายเป็น ต้น AM ไปเลยครับ !

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำที่เราใช้รดน้ำกล้วยไม้ทุกวันนี้ ดีกับกล้วยไม้รึเปล่า ?
      แน่นอนว่า อาจจะเดาได้ยาก เพราะน้ำที่มาจากท่อที่เราใช้ทุกวัน เปิด ๆ ดูมันก็ใส ๆ กันเกือบทั้งนั้น แล้วจะรู้ได้อย่างไรละ ว่ามันเป็นพิษกับกล้วยไม้ของเราไหม .... คำตอบนั้นไม่ยากครับ ให้สังเกตุดังนี้
1. คราบสนิมเหล็ก ลักษณะจะเป็นคราบสีแดงน้ำตาลไหม้ บริเวณถังกักน้ำ
2. สังเกตุบริเวณกระเช้ากล้วยไม้ว่า มีคราบสีขาวไหม หากเป็นคราบที่เกิดจากยา มันจะหลุดได้เองใน 2-3 วันครับแต่หากคราบขาวติดทนนาน สงสัยไว้เลยว่า น้ำเป็นหินปูนครับ
3. หากตักน้ำใส่แก้ว แล้วพบว่ามีตะกอนปะปน แปลว่าน้ำไม่สะอาดพอครับ อาจเป็นตะกอนหินดินทรายก็เป็นได้
4. มีกลิ่น ไม่ว่าฉุนหรือเหม็น ก็ถือว่าเป็นน้ำไม่สะอาดครับ ถ้าเป็นกลิ่นคอรีนยังพอรับได้นะ

ส่วนใหญ่แล้ว น้ำที่มีข้อบกพร่องดังกล่าวนั้นแม้จะผ่านเครื่องกรองแล้วก็ยังเป็นอันตราย ต่อกล้วยไม้อยู่ดี หากยังรดต่อไปมันจะเหมือนกับมะเร็งที่ค่อย ๆ คร่าชีวิตกล้วยไม้ของเราไปครับ ถ้าเป็นน้ำบาดาลที่เจาะลงไปลึกมาก ๆ มักจะพบแร่ธาตุจำพวก แคลเซียมไบคาบอร์เนต ซึ่งแร่ธาตุตัวนี้จะทำให้ฟอสเฟสบางชนิดในรากกล้วยไม้ตกตะกอน ทำให้รากกล้วยไม้ผุง่าย ๆ ได้เลยครับ แต่ก็พอมีทางแก้ ถ้าน้ำเป็นหินปูนมันจะหมายถึงน้ำที่มีแคลเซียมมาก ให้เราใช้ กรดฟอสฟอริก 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปีบ ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จึงใช้รดต้นไม้ได้ ถ้าเป็นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีตะกอน ก็ให้หาเครื่องกรองมากรองและกักน้ำไว้ในแท้งก่อนนำน้ำไปใช้ครับ *กรดฟอสฟอริก หาซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ ครับ
ส่วนน้ำที่เป็น กรด เป็นด่าง เอาง่าย ๆ ชิมเลยครับ ถ้าน้ำมันเปรี้ยว เดาว่าเป็นกรด ถ้าน้ำรสฝาด ก็คงเป็นด่าง น้ำที่เป็นกรด แก้โดยใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า โซดาไฟ นำไปแกว่งในน้ำแล้ว ทิ้งไว้สัก 2-3 วันถึงจะนำน้ำมาใช้ได้ครับ
น้ำที่เป็นด่าง แก้โดยใช้กรดไนตริก เทลงน้ำที่กักไว้ แล้วแกว่งให้เข้ากัน อาจต้องใช้กระดาษลิตมัสทดสอบไปด้วย ต้องผสมจนกว่าน้ำจะมีฤทธิ์เป็นกลางครับ
** กรดไนตริกเป็นกรดที่มีพิษที่สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้อย่างรุนแรง เวลาใช้ให้ระมัดระวังด้วยครับ
** โซเดียมไฮดร็อกซค์ และ กรดไนตริก หาซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ ครับ
อ่านบทความนี้จบ หลายคนคงหนักใจหากเจอปัญหาที่ว่ามา เลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้ง่ายเลยใช่ไหมละครับ แต่หากเราเลี้ยงดูเล่นไม่จริงจังมาก ก็ใช้น้ำที่เรารดทุกวัน แล้วหมั่นบำรุงต้นใส่ปุ๋ยก็เพียงพอแล้วละครับ


credit: http://www.orchidtropical.com/articleid04.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น